บทบาทของชุมชนยอมรับและการดูแลเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์

เด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นหลังการระบาดของโรคในช่วง สิบกว่าปีที่ผ่านมา และกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่ง สถานการณ์เด็กกำพร้า ทัศนคติของชุมชนต่อเด็กกำพร้า ความหมาย เหตุผล และกระบวนการยอมรับเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ การดูแลเด็กกำพร้า และ รวมถึงปัญหาและความต้องการในการดูแลเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เด็กกำพร้าที่บิดาหรือมารดาหรือทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ครอบครัว และบุคคลคนที่อยู่รอบข้างเด็ก

111
พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์และกำพร้า จากสาเหตุอื่น โดยเฉพาะในเรื่องการไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชน ปัจจุบันแม้ว่ารูปแบบการ ไม่ยอมรับจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างและระดับของความรุนแรงได้ลดลงแต่ยังคงมีอยู่ ซึ่งส่งผล ให้เด็กยังคงได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีอาการ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐาน ทางการแพทย์ยืนยันว่าเด็กติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม

ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กที่สำคัญคือ การรังเกียจ/ แบ่งแยกในการมีกิจกรรมร่วมกับเด็กอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่มีการสัมผัสตรง ได้แก่ การกิน การนอน และการเล่น ดังนั้นการให้ความหมายของการยอมรับจึงถูกกำหนดขึ้น โดยเป็นการให้ความหมายที่สะท้อนถึงแนวคิดและพฤติกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ความหมาย ได้แก่ การไม่รังเกียจ/ไม่แบ่งแยก/ไม่ปฏิเสธการมีกิจกรรมร่วมกัน การเชื่อมโยงความเข้าใจ ระหว่างคนกับโรคเอดส์ และการช่วยเหลือดูแล ไม่ทอดทิ้ง ในขณะที่การไม่ยอมรับก็จะสะท้อน ออกมาในรูปของความหมายตรงกันข้าม ทั้งนี้มีเหตุผลของการยอมรับหรือไม่ยอมรับ 7 ประการ คือ ยอมรับเพราะสุขภาพของเด็ก เพราะพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก เพราะทราบสาเหตุหรือ โอกาสในการติดเชื้อ เพราะความรัก/ความผูกพัน เพราะมีพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่าง เพราะบทบาท ทางสังคม อำนาจต่อรอง และเพราะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งการยอมรับเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการโดยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากการยอมรับผู้ติดเชื้อเอดส์ การล่มสลายของครอบครัวปฐมภูมิเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้สูญเสียบิดามารดาและการทำหน้าที่ ของครอบครัวทุติยภูมิได้เริ่มต้นขึ้น เพื่อให้ครอบครัวสามารถทำหน้าที่ของตนเองต่อไป โดยเฉพาะในการดูแลเด็กทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและการศึกษา พบว่าครอบครัวสามารถดูแลเด็กได้ตามอัตภาพในขณะที่ชุมชนมีบทบาทน้อยมาก เด็กกำพร้าและ ครอบครัวประสบกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัว ปัญหาการ ถูกรังเกียจ/แบ่งแยก ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์ และปัญหาด้านความต้องการพื้นฐาน ความ ช่วยเหลือที่ได้รับยังไม่เพียงพอ ส่วนความช่วยเหลือที่ต้องการ คือ ทุนการศึกษา การช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกับเด็กอื่นไม่ถูกรังเกียจหรือ แบ่งแยก ข้อค้นพบจากการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์เชิงนโยบายได้บ้างโดยการกำหนดยุทธศาสตร์ ในการช่วยเหลือเด็กกำพร้าและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว และชุมชนมีความเข้มแข็งและเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจาก โรคเอดส์

รัฐบาล ชุมชน หน่วยงานต่างๆ  ตลอดจนองค์กรการกุศล ควรมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีแก่ประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม  เพื่อช่วยลดการเกิดการติดเชื้อเอชไอวี