Category Archives: การบริการ

พัฒนาการแก้ปัญหาโรคเอดส์ร่วมกัน เอดส์ รู้เร็ว รักษาได้

เมื่อเปิดดูผลการสำรวจของสถานการณ์โรคเอดส์ในไทย พบว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละ 9,000-10,000 คน สาเหตุของการติดเชื้อร้อยละ 85 มาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกัน ส่วนกลุ่มที่มีการติดเชื้อมากที่สุด หากไม่นับการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันแล้ว กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายยังคงครองแชมป์การติดเชื้อมากที่สุด และถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังมากที่สุด

แม้จะมีการรณรงค์ว่า “เอดส์ รู้เร็ว รักษาได้” แต่ผู้ป่วยเอดส์หลายคนต้องเผชิญกับความรังเกียจเดียดฉันท์จากสังคมบางกลุ่มอยู่ไม่น้อย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง การรับประทานอาหารร่วมกัน, โดยสารยานพาหนะด้วยกัน, พูดคุย สัมผัส หรือโอบกอดกัน, การใช้โทรศัพท์ร่วมกัน, ว่ายน้ำในสระหรือคลองเดียวกัน, ทำงานร่วมกัน, อยู่บ้านเดียวกัน รวมไปถึงการถูกกัดโดยยุงหรือแมลงตัวเดียวกันจะไม่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ก็ยากที่จะรับได้อยู่ดี

ดังนั้น ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ทางใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือแม้แต่ทางปากหรือออรัลเซ็กซ์ เรื่องนี้ พญ.นิตยา ภานุภาค พึ่งพาพงศ์ แพทย์ประจำศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ได้เคยแนะนำเอาไว้ด้วยความเป็นห่วงว่า ควรที่จะมาตรวจเชื้อหาเอชไอวี โดยเฉพาะกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งมีการร่วมรักกันผ่านทางทวารหนัก เพราะมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดในผู้หญิงถึง 10 เท่า เนื่องจากทวารหนักมีความเปราะบางกว่าช่องคลอด

แม้ฝ่ายรุกที่ไม่ติดเชื้อจะมีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่า แต่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสติดเชื้อเลย ดังนั้น การป้องกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ซึ่งพื้นฐานในการป้องกันคือการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จะสามารถช่วยป้องกันโรคได้ และอีกแนวทางหนึ่งที่มีผลการศึกษาชัดเจนแล้วว่า การรักษาด้วยการรับยาต้านไวรัส สามารถป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีได้ ไม่ว่าจะเป็นจากแม่ไปสู่ลูก หรือจากคู่รักไปสู่คู่รัก

โรคเอดส์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเฉพาะตัว หลายเรื่องยังต้องเร่งแก้ไข ทั้งภูมิความรู้ความเข้าใจโรคเอดส์ของคนไทย รวมไปถึงทัศนคติที่ไม่ดีกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เช่น โรคเอดส์เป็นแล้วต้องตาย หรือผู้ที่ติดเชื้อเป็นคนไม่ดี ทว่าในความจริงแล้วพฤติกรรมที่นำไปสู่การติดเชื้อ แม้คนดีหรือคนที่ไม่รู้เรื่องก็สามารถติดเชื้อได้ เช่น แม่บ้านติดเชื้อจากสามีสุดที่รัก หรือแม้กระทั่งติดไปถึงตัวลูกในครรภ์

การป้องกันและการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์

การป้องกันและการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์

การป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงติดเชื้อได้ง่าย ผู้ดูแลจำเป็นต้องป้องกันผู้ป่วยมิให้รับเชื้อโรคซึ่งมีวิธีการดังนี้

1.การล้างมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำลายเชื้อโรคให้ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ ล้างมือก่อนทำอาหาร ก่อนป้อนอาหาร ก่อนอาบน้ำให้ผู้ป่วย ต้องล้างมือทุกครั้งเมื่อจามหรือไอ หรือเอามือจับจมูก ปาก อวัยวะเพศ เมื่อคนดูแลเปลื้อนเลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิจะต้องล้างมือทันที วิธีการล้างให้ล้างด้วยน้ำอุ่นและสบู่ 15 วินาที

2.ปิดแผลของท่าน ถ้าท่านมีแผล หรือตุ่มน้ำที่ผิวหนังหรือการอักเสบที่ผิวหนังต้องระวังเป็นพิเศษที่จะนำเชื้อไปติดผู้ป่วยและอาจจะติดเชื้อจากผู้ป่วย ท่านมีแผลต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลสวมถุงมือ

3.แยกคนไม่สบายออกจากผู้ที่ติดเชื้อ หากมีสมาชิกในครอบครัวปวดเป็นไข้หวัดหรือโรคอื่นต้องแยกจากผู้ที่ติดเชื้อ HIV หากเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องสวมหน้ากากปิดปากและจมูก

4.ห้ามคนไข้สุกใสเข้าใกล้ผู้ป่วย ไข้สุกใสอาจจะทำให้ผู้ป่วย HIV เสียชีวิตได้ดังนั้นผู้ที่เป็นไข้สุกใสต้องไม่อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยจนกระทั่งผื่นแห้ง สำหรับผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นไข้สุกใสหากจะไปเยี่ยมผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องหลัง 3 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นงูสวัดก็ไม่ควรเยี่ยมผู้ป่วยติดเชื้อ HIV และถ้าท่านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคไข้สุกใสและท่านต้องดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ท่านต้องสวมหน้ากากปิดปากปิดจมูก ล้างมือก่อนที่จะไปช่วยเหลือคนไข้ และอยู่ในห้องคนไข้ให้น้อยที่สุด ถ้าหากผู้ที่ติดเชื้อ HIV สัมผัสผู้ป่วยไข้สุกใสหรือโรคงูสวัดต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที

5.สมาชิกของผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบเพื่อป้องกันโรคติดต่อไปยังผู้ป่วยและเพื่อให้แน่ใจอ าจจะต้องฉีดกระตุ้นอีกครั้ง วัคซีนที่ต้องฉีดคือ หัด หัดเยอรมัน คางทูม สำหรับวัคซีนป้องกันโปลิโอต้องใช้ชนิดที่เชื้อตายแล้วเท่านั้น

6.ระวังสัตว์เลี้ยงและการทำสวน แม้ว่าการเลี้ยงสัตว์จะให้ความสุขกับผู้ป่วยแต่สัตว์ก็สามารถนำเชื้อไปสู่ผู้ป่วยได้ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ไม่ควรจะสัมผัสกับกรง กระบะอาหาร อุจาระของสัตว์ น้ำสำหรับเลี้ยงปลา หากผู้ป่วยต้องสัมผัสสัตว์ต้องล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง สำหรับผู้ที่ทำความสะอาดกรงหรือกระบะอาหารควรจะสวมถุงมือทุกครั้งและล้างมือทันที สัตว์ที่เลี้ยงก็ต้องหมั่นฉีดวัคซีนและตรวจสุขภาพเป็นประจำ เชื้อโรคสามารถพบได้ในดินดังนั้นต้องสวมถุงมือทุกครั้งที่ทำสวน

7.การซักรีด เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน สามารถซักร่วมกับคนปกติได้โดยใช้ผงซักฟอกธรรมดา แต่ผ้าที่เปื้อนเลือด อุจาระ ปัสสาวะ น้ำอสุจิ ให้ใช้ถุงมือจับใส่ถุงพลาสติกแยกไว้ต่างหากและล้างด้วยน้ำธรรมดาเพื่อล้างเลือดออกก่อน จึงค่อยซักธรรมดาไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ HIV เพราะการซักธรรมดาก็ฆ่าเชื้อได้ สำหรับเครื่องเรือนที่เปื้อนเลือดให้สวมถุงมือแล้วใช้น้ำสบู่ล้างออก

8.การทำความสะอาดบ้าน ทำความสะอาดอ่างล้างหน้า ฝักบัว บ่อยๆโดยใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ พื้นบ้านต้องล้างอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โถส้วมให้ล้างบ่อยๆโดยใช้น้ำยาธรรมดาล้างทำความสะอาด

9.อาหาร ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV สามารถรับประทานอาหารทุกชนิดยิ่งมากยิ่งดี และควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย

ปัญหาโรคเอดส์จะไม่ใช่ปัญหาของสังคมถ้ามีการร่วมมือป้องกัน

ต้องยอมรับว่า หนึ่งในโรคติดต่อที่คนรู้จักความน่ากลัวของมันเป็นอย่างดี ก็คือ โรคเอดส์ และรู้กันดีว่า โรคเอดส์ เป็นโรคร้ายแรงที่ยังไม่มีตัวยาใดมารักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งยังพบผู้ติดเชื้อ เอดส์ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นจึงทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดเอาวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปีเป็น วันเอดส์โลก เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายจาก โรคเอดส์ นั่นเอง
สำหรับ HIV และ AID คือ
HIV มาจากคำว่าHuman Immunodeficiency Virus หมายถึง เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเข้าไปทำลายภูมิคุ้มกันของมนุษย์
AIDS มาจากคำว่า Acuquired immune Deficiency Syndrome หมายถึงกลุ่มอาการของโรคหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลัง
สาเหตุ คือ เกิดจากเชื้อ เอชไอวี ซึ่งเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่สามารถแพร่เชื้อได้ทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นต่างเพศและเพศเดียวกัน ในชายรักร่วมเพศ เกย์ ทางเลือด ทางเลือด เช่น การได้รับการถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะที่มีเชื้อ การแปดเปื้อนผลิตภัณฑ์จากเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การเจาะหู และอื่นๆ รวมทั้งการติดต่อจากมารดาที่มีเชื้อสู่ทารก
ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ความรุนแรงของโรคเอดส์นั้นได้ลดลงเนื่อจากการรักษาผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงทำให้มีผู้ป่วยเอดส์และผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ลดลง ทั้งนี้การป้องกันแก้ไขกับปัญหาควรจะเริ่มจากการรณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันเอดส์ตามสถานที่ต่างๆเพื่อป้องกันโรคและการรณรงค์ในการสร้างจิตสำนึกการไม่กระทำความรุนแรงต่อสตรีและเด็กซึ่งในปัจจุบันนั้นปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบอยู่บ่อยครั้ง
สำหรับผู้ที่ควรตรวจหาเชื้อเอดส์ นั้นได้แก่
– ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และต้องการรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอดส์หรือไม่
– ผู้ที่ตัดสินใจจะมีคู่หรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยา
– ผู้ที่สงสัยว่าคู่นอนของตนจะมีพฤติกรรมเสี่ยง
– ผู้ที่คิดจะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และลูก
– ผู้ที่ต้องการข้อมูลสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยและสุขภาพของร่างกาย
ฉะนั้นปัญหาของสังคมในด้านนี้อาจลุกลามจนไม่สามารถแก้ไขได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นทุกคนและทุกภาคส่วนควรจะหันมาร่วมมือกันช่วยกันให้สังคมนี้อยู่ต่อไปอย่างมีความสุข

การให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยเอดส์ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบบ่อยขึ้นในวัยรุ่น

ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้วัยรุ่นอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง ยิ่งมีการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์แล้วพบว่าคนไทยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเฉลี่ยตั้งแต่อายุ 18 ปี เร็วกว่าชาวอินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย คนไทยร้อยละ 51 มีเพศสัมพันธ์แบบไม่สวมถุงยาง และเจ้าตัวไม่ทราบประวัติเพศสัมพันธ์ของคู่นอน ทำให้วัยรุ่นไทยเสี่ยงสูงขึ้นต่อการติดเชื้อ HIV ขณะนี้พบนักเรียนหญิงอายุเพิ่ง 14-15 ปีก็ตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่น่าเป็นห่วงของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนคือการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย

ขณะนี้อัตราการติดเชื้อ HIV พุ่งสูงขึ้นแล้วในวัยรุ่นไทย เพราะวัยรุ่นเป็นวัยเรียนและเป็นวัยที่สนใจ อยากรู้ อยากลองเรื่องเพศ ดังนั้นเรื่องนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งจนหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องรีบแก้ไข ถึงแม้มีการให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องเพศสัมพันธ์ในโรงเรียนมากขึ้นในปัจจุบัน แต่การทำให้เกิดความรับผิดชอบ สังคมต้องให้กำลังใจ เอาใจช่วย และเห็นใจในความทุกข์ของผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ และช่วยให้เขาสามารถดำรงชีพหรือทำงานได้ตามปกติโดยเฉพาะผู้ที่กินยาต้านไวรัสและอาการทุเลาจนเหมือนคนปกติแล้ว

ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ไม่มีอาการสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี

บางรายอยู่ได้ถึง 10 ปี โดยไม่มีอาการขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งต้องไม่ไปรับเชื้อเพิ่มอีก พบว่าผู้มีกำลังใจเข้มแข็งสามารถดำรงชีวิตได้เป็นปกตินานกว่าผู้ที่หมดกำลังใจ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ติดเชื้อต้องการมากคือความเห็นใจและการยอมรับจากครอบครัว เพื่อนและสังคมรอบข้าง สำหรับผู้ที่มีอาการแล้วพบว่าส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยเอดส์หลายคนที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปีขึ้นไป แม้ว่าผู้ป่วยเอดส์จะพบว่าผู้ชายมีจำนวนมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3-4 เท่า คงเป็นเพราะผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นจากการมีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน หรือการใช้ยาเสพติด จึงทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อเอดส์ได้มากกว่า แต่ด้วยเหตุผลทางวิชาการ พบว่าผู้หญิงจะมีโอกาสติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายกว่าผู้ชาย แม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์น้อยครั้งกว่าผู้ชายก็ตาม เพราะอวัยวะเพศของผู้หญิงสามารถรับเชื้อได้ง่ายกว่าของเพศชาย และในปัจจุบันพบว่าผู้หญิงลายคนได้รับเชื้อเอดส์มาโดยไม่รู้ตัว

การป้องกันเอดส์ในเด็ก ควรทำอย่างไรบ้าง


เด็กที่ติดเชื้อเอดส์ในไทยส่วนใหญ่ ได้รับเชื้อจากแม่ขณะตั้งครรภ์ ทำให้ในปัจจุบันมีเด็กที่ติดเชื้อประมาณ 7 แสนคนต่อปี ปัญหาคือเด็กเหล่านี้กำพร้าพ่อแม่ตั้งแต่อายุยังน้อย ปัจจุบันมีการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ และในทารกแรกเกิด รวมทั้งการให้ทารกงดนมแม่ ทำให้มีอัตราการติดเชื้อต่ำลง จากที่เคยมีมากขึ้นในทุกปี
ประเทศไทยเคยได้รับการยกย่องว่า เป็นประเทศที่มีระบบตรวจโรคเอดส์ และให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้เป็นแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่เด็กจะติดเชื้อในขณะอยู่ในครรภ์ หรือในระหว่างคลอด และอาจได้รับเชื้อจากนมมารดา หากทารกกินนมมารดาจะทำให้ติดเชื้อจากเลือดไปด้วย ทำให้ในช่วงหลังมีการคัดกรองนมที่นำมาบริจาคด้วย
ประเทศไทยจะเน้นการดูแลมารดาระหว่างตั้งครรภ์อย่างดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทารก และได้จัดสรรยาให้กับหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังแจกนมผงแก่เด็กทารกนาน 1 ปีอย่างเพียงพอทั่วประเทศ จึงทำให้ประเทศไทยได้รับการยกย่องเป็นตัวอย่างให้แก่ประเทศอื่นๆ และการตรวจเลือดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรทำทุกราย คาดได้ว่าในอนาคตเด็กผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีจำนวนลดน้อยลงอย่างแน่นอน
ปัจจุบันมีการพัฒนายาต้านไวรัสอยู่เสมอ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำให้เด็กแข็งแรงเหมือนกับเด็กทั่วไป ยากที่ใช้ได้แก่ zidovudine ร่วมกับ lamivudine นำมารวมในเม็ดเดียวกัน และยังสามารถผลิตได้เอง ทำให้มีราคาถูก ผู้ป่วยสามารถเอื้อมถึง
การมีสุขภาพอนามัยที่ดี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซ้ำ เพราะด้วยภูมิป้องกันที่ต่ำ ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย จึงควรให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดี โดยการรับประทานอาหารที่สะอาด รักษาสุขอนามัยทั่วไป เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ตัดเล็บ เป็นต้น นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือให้เด็กทำกิจกรรมก็ได้ และงดกิจกรรมที่ทำให้เลือดออก ควรงดกีฬาที่เสี่ยงจนเกินไป
ควรฝึกระเบียบวินัยให้กับเด็กในการกินยาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เด็กสามารถปรับตัวในการกินยาให้ได้ เป็นต้องมีการฝึกสอนให้ผู้ปกครองทำได้อย่างถูกต้อง การกินยาให้ถูกต้องจะลดโอกาสที่เกิดเชื้อดื้อยาได้มาก ซึ่งวิธีการนี้ช่วยให้เด็กที่ติดเชื้อสามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงได้

วัยรุ่นไทยตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรทำให้เด็กเกิดมามีปัญหา

โครงสร้างครอบครัวของไทยกำลังเปลี่ยน

ครอบครัวแบบคลาสสิคที่พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกันลดจำนวนลง กลายเป็นคู่แต่งงานที่ไม่มีลูก คนอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น เพราะปัญหาหย่าร้างเพิ่มมากขึ้นด้วย ส่งผลให้อัตราการเกิดของเด็กลดลง นอกจากอัตราการเกิดของเด็กลดลงแล้ว ปัญหาอีกอย่างที่ตามมาคือ ประชากรน้อยลง แต่คุณภาพก็ยังแย่อีกด้วย ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว หากคนน้อยลง ประสิทธิภาพการทำงานต้องมากขึ้น แต่ตลาดแรงงานไทยนั้นมีจำนวนลูกจ้างรายวันสูง นายจ้างไม่สนใจที่จะสอนงานพัฒนาคุณภาพให้ลูกจ้างรายวัน ประสิทธิภาพของแรงงานไทยจึงไม่พัฒนาไปไหน

การที่วัยรุ่นหนุ่มสาวมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นอาจเนื่องมาจากการได้รับการเลี้ยงดูด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายจึงทำให้พัฒนาการทางเพศเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วย โดยเด็กจะเจริญเป็นหนุ่มสาวเร็วขึ้น เด็กผู้หญิงมีประจำเดือนหรือตกไข่เร็วขึ้น ส่วนเด็กชายก็มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศเร็วขึ้น การพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายของเด็กชายและหญิงดังกล่าวจึงนำมาสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การที่เด็กมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรก่อให้เกิดผลเสียต่าง ๆมากมายดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการอบรมสั่งสอนให้บุตรหลานได้ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควร

การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์นั้นเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีอยู่ในทุกยุคทุกสมัยของสังคมไทย โดยเฉพาะในปัจจุบันปัญหานี้เกิดขึ้นมากในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่อยู่ระหว่างรอยต่อของระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่และเป็นช่วงที่ร่างกายมีความพร้อมต่อการสืบพันธ์ นิสัยของเด็กในวัยนี้อารมณ์แปรปรวนง่าย มีความคึกคะนอง ชอบกิจกรรมที่ท้าทาย อยากรู้อยากลอง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ขาดสติยั้งคิดในบางเรื่องจนทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา จากการสำรวจพบว่าวัยรุ่นไทยเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเริ่มต้นที่อายุ 12 ปี และมีแนวโน้มที่อายุจะลดลงไปเรื่อยๆในอนาคต

สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นไทยตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

– ไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่ดีและขาดการเอาใจใส่จากพ่อและแม่
– ขาดการชี้แนะเรื่องเพศสัมพันธ์จากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู ทำให้เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปิด
– เด็กใช้เวลาส่วนมากหมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากเกินไป
– การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนทางด้านอารมณ์ของวัยรุ่น
– ไม่มีความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
– สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่
– สื่อต่างๆที่ในปัจจุบันเข้าถึงวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น เช่น สื่อลามก หนังสือ ซีดี
– การอยู่กันสองต่อสองในที่ลับตาคน
– การใช้สารเสพติด หรือ พวกเครื่องดื่มมึนเมาจนทำให้ขาดสติ
– การเลียนแบบวัฒนธรรมที่ผิดๆจากต่างประเทศ
– คลั่งวัตถุนิยมจนต้องเอาตัวเข้าแลกเพื่อให้ได้สิ่งของตามที่ต้องการ

ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งและเด็กเร่ร่อนที่ขาดการดูแลจึงเป็นสิ่งที่ควรแก้ไขเนื่องจากเด็กไทยขาดการศึกษา

20

ปัญหาสังคม คือความเสียระเบียบของความสัมพันธ์ทางสังคมหรือองค์กรทางสังคม ปัญหาสังคมจะเป็นอะไรก็ได้ที่มากระทบทางลบกับความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ก็เป็นหนึ่งในปัญหาสังคม ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากมายในสังคมไทย การเจริญเติบโตของเด็กและเยาวชนต้องอาศัยระบบชีวิตและครอบครัวเป็นพื้นฐาน เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ต้องอาศัยดินที่อุดมสมบูรณ์ มีผู้คอยรดน้ำพรวนดิน จึงจะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในขณะเดียวกัน เด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อย ที่ประสบปัญหานานาประการไม่ว่าจะเป็นเด็กกำพร้า ถูกทอดทิ้ง เร่ร่อน อนาถา ไร้ที่พึ่ง ครอบครัวยากจน ขาดแคลน ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับวัยหรือบิดา มารดา ผู้ปกครอง ให้การอุปการะเลี้ยงดูไม่เหมาะสม เด็กเหล่านี้เปรียบเสมือนต้นไม้ที่อ่อนแอ จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้กลับกลายเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตงอกงามขึ้นมาได้

ความเจริญด้านวัตถุเข้ามามีผลต่อค่านิยมของคนในสังคม จนอาจจะลืมนึกถึง สิ่งหนึ่งที่สำคัญนั้นคือ การแสดงออกถึงความเอื้ออาทรต่อกันในสังคม ทุกคนต่างเร่งรีบที่จะแสวงหาความสะดวกสบาย สร้างฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชีวิต และครอบครัวของตนในด้านกายภาพ จนละเลยที่จะให้ความสำคัญด้านจิตใจ จนทำให้อาจจะทอดทิ้งใครบางคนในครอบครัวจนทำให้เกิดปัญหาอย่างเงียบๆซึ่งนำไปสู่ ปัญหาการทอดทิ้งกันและกันในสังคม หนึ่งในปัญหานั้นก็คือ เด็กถูกทอดทิ้ง  เด็กเร่ร่อนปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งและเด็กเร่ร่อนที่ขาดการดูแลจึงเป็นสิ่งที่ควรแก้ไขเนื่องจากเด็กไทยขาดการศึกษา ขาดการอบรมด้านศีลธรรม ขาดความอบอุ่นในอนาคตต่อไปเด็กไทยก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดความรู้ไม่สามารถประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวได้หากประเทศชาติขาดประชากรที่มีการศึกษาและขาดประชากรที่มีคุณธรรมประเทศชาติเราก็ไม่สามารถที่จะพัฒนาเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆได้จะเห็นได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีประชากรที่มีการศึกษาที่ดีเป็นจำนวนมากโดยการศึกษาจะเริ่มต้นจากครอบครัวเป็นหลักเราจะพบว่าครอบครัวที่มีความอบอุ่นและพ่อแม่ให้ความเอาใจใส่แก่ลูกก็จะทำให้ลูกเป็นเยาวชนที่ดีต่อประเทศชาติในอนาคต

ปัญหาเด็กถูกทอด ทิ้งและเด็กกำพร้านับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขในปัจจุบัน

ในปัจจุบันปัญหาเด็กถูกทอด ทิ้งและเด็กกำพร้านับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่ สุดเนื่องจากในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไทพบว่าสถานสงเคราะห์ได้รับเด็กที่ถูกทอดทิ้งเข้ามาเลี้ยง เฉลี่ยแล้ว 44-45 คนต่อเดือน โดย 80% ถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดในภาคกลาง อีก 20% รับตัวมาจากตำรวจหรือกลุ่มที่พ่อแม่ทิ้งไว้กับคนรับจ้างและสถานที่สาธารณะอื่นๆ ทั้งนี้จากการสืบค้นพบว่าเด็กที่ถูกทอดทิ้งในปัจจุบันเกิดจากแม่ที่เป็นวัยรุ่นวัยเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบ สาวโรงงานที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ และกลุ่มวัยรุ่นที่ติดยาเสพติด

สถิติ เด็กและเยาวชนทำผิดสูงขึ้น จากรายงานคดีเกี่ยวกับเด็กที่ถูกจับเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่า ความผิดฐานลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเรา (ซ่องโจร และยาเสพติด เป็นฐานความผิดที่มีสถิติสูงสุด จากที่เด็กเคยตกเป็นเหยื่ออันเนื่องมาจากปัญหาการทอดทิ้งเด็กปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งเป็นปัญหาที่สร้างภาระให้กับสังคมที่จะต้องดูแล โดยเฉพาะหน่วยที่เข้ามามีบทบาทการรับดูแลเด็กที่ถูกทอดทิ้งสังคมเกิดความไม่เป็นระเบียบจากปัญหาที่เกิดขึ้นหากไม่มีการดูแลและแก้ไขอย่างต่อเนื่องเด็กจะเกิดปัญหาการไม่เห็นค่าของตนเองนำมาซึ่งปัญหาการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรมและผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

เด็กไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐและสิทธิที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหาควร ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชนรวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการจะมีบุตรส่งเสริมให้มีการจัดโครงการกิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัวมีการจักการฟื้นฟูสภาพครอบครัว การเข้าไปให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่อยู่ในภาวะวิกฤติ เพื่อช่วยแก้ปัญหากรณี เด็กถูกทอดทิ้งควรจัดหาสถานที่หรือครอบครัวใหม่หรือผู้อุปการะเด็กตามความ เหมาะสมรัฐบาล ในฐานะผู้บริหารประเทศจะต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ที่มีฐานะยากจนสามารถอยู่ได้ตามอัตภาพไม่ต้องดิ้นรนเช่นปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะเครียดภายในครอบครัวและเสี่ยงต่อความรุนแรงในครอบครัว

สรุป ได้ว่าการขาดความรักความอบอุ่นจาก สถาบันครอบครัวยังถือเป็นปัญหาลำดับแรกที่ ต้องให้ความสำคัญ และในอนาคตสถานการณ์เด็กถูกทอดทิ้งจะรุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน หากเด็กที่ถูกทอดทิ้งเหล่านี้เติบโตขึ้นจากการได้รับความรักอย่างฉาบฉวยโดย ไม่รู้จักรากฐานของความรักที่แท้จริง เด็ก จึงต้องตกอยู่ในสภาพของเด็กกำพร้า ได้รับการเลี้ยงดูแบบตามมีตามเกิดและต้องอยู่ในสถานสงเคราะห์อย่างถาวร

สาเหตุปัญหาที่ทำให้เด็กที่เกิดมาถูกทอดทิ้ง

ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งและเด็กกำพร้า

นับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด เพราะการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการมีบุตร และสาเหตุนี้ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลักในการที่เด็กถูกทอดทิ้ง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากพ่อแม่ที่เป็นวัยรุ่น วัยเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบ ยังไม่มีวุฒิภาวะทางการศึกษาและมักจะเข้าใจเพียงผิวเผินว่า เมื่อมีบุตรแล้วจะสามารถเลี้ยงและประคับประคองการดูแลบุตรได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วยังไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างยังขาดความพร้อม เช่น ความรู้ความเข้าใจในการมีครอบครัว ฐานะทางการเงิน ยังต้องศึกษาต่อ เป็นต้น ซึ่งทำให้ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งนี้เกิดขึ้นอยู่เสมอในสังคม

เนื่องจากปัญหาการทอดทิ้งเด็กเป็นปรากฏการณ์ที่มาจากหลายๆเรื่องของสังคม จึงไม่สามารถที่จะแก้ได้แค่เพียงดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งแต่ต้องระดมความคิดการดำเนินการโดยใช้นวัตกรรมแห่งความคิดจริงๆ โดยองค์กรทุกองค์ของทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามามีส่วนช่วยในการดำเนินการโดยมีองค์กรชั้นนำเป็นการขับเคลื่อนด้วยรัฐบาลที่จริงใจที่จะมุ่งหวังแก้ปัญหาอย่างจริงจังก็จะสามารถเสี่ยงเป้าไปได้ในการแก้ปัญหา การแยกด้านพรรคฝ่ายการทำงานคุณธรรมจริยธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ที่เป็นอยู่จริง เป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ปัญหาได้ แต่จะไม่มองว่าแก้ไม่ได้เลยทีเดียวหากองค์กรชั้นนำทางความคิดนวัตกรรมด้านมุมมองใหม่แก้ปัญหาป้องกันปัญหาให้การศึกษาเรียนรู้พัฒนาต่อยอดอยู่ตลอดเวลา

การขาดความรักความอบอุ่นจากสถาบันครอบครัว

ยังถือเป็นปัญหาลำดับแรกที่ต้องให้ความสำคัญ และในอนาคตสถานการณ์เด็กถูกทอดทิ้งจะรุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน หากเด็กที่ถูกทอดทิ้งเหล่านี้เติบโตขึ้นจากการได้รับความรักอย่างฉาบฉวยโดย ไม่รู้จักรากฐานของความรักที่แท้จริง เด็กจึงต้องตกอยู่ในสภาพของเด็กกำพร้า ได้รับการเลี้ยงดูแบบตามมีตามเกิดและต้องอยู่ในสถานสงเคราะห์อย่างถาวร เนื่องจากสถิติเด็กและเยาวชนทำผิดสูงขึ้น จากรายงานคดีเกี่ยวกับเด็กที่ถูกจับเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่าความผิดฐานลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเราและยาเสพติดเป็นฐานความผิดที่มีสถิติสูงสุด จากที่เด็กเคยตกเป็นเหยื่ออันเนื่องมาจากปัญหาการทอดทิ้งเด็ก

เด็กที่ถูกทิ้งเหล่านี้มักเติบโตมาด้วยความรู้สึกไม่ปลอดภัย เป็นเด็กที่ขาดความอบอุ่น ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาเฉพาะปลายทาง แต่มีนโยบายที่พยายามจะสกัดปัญหาตั้งแต่ต้นทางด้วยการจัดทำโครงการต่างๆในเชิงป้องกัน อาทิ โครงการความรักความสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โดยเน้นกลุ่มสาวโรงงาน, โครงการป้องกันการถูกล่อลวงในเยาวชนตามโรงเรียนและอื่นๆ อีกด้วย อีกทางคือการรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งเป็นบุตรบุญธรรม

การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก

เชื้อเอชไอวีเป็นสาเหตุของการเกิดโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคที่ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน ในประเทศไทยได้มีการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี การดูแลหญิงตั้งครรภ์หรือการวางแผนจะตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับทางเลือกในการมีบุตรอัตราความเสี่ยงของการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ทารก ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และยาต้านไวรัสที่อาจได้รับขณะตั้งครรภ์เป้าหมายของการดูแลรักษาขณะตั้งครรภ์เพื่อรักษาให้มารดามีสุขภาพที่ดีได้รับยาต้านไวรัสที่เหมาะสมทำให้ภูมิต้านทานสามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสและลดอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกโดยไม่กระทบต่อการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในอนาคต

ทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อมีโอกาสติดเชื้อจากแม่ได้ร้อยละ 20 หรือเท่ากับ 1 ใน 5 คนที่คลอดออกมา ไม่ใช่จะต้องติดทุกคน เป็นที่รู้กันมากว่า 13 ปี แล้วว่าเราสามารถลดโอกาสที่ลูกจะติดเอดส์จากแม่ลงได้ด้วยการให้ยาต้านไวรัสเอดส์แก่แม่และลูกที่เพิ่งคลอดออกมา การไม่ให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมของตัวเอง และการผ่าตัดท้องคลอด จะลดโอกาสการติดเชื้อลงได้มากเท่าไรขึ้นกับปริมาณเชื้อไวรัสในแม่ และสูตรยาต้านไวรัสเอดส์ที่ให้แม่กับลูกในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาจะใช้สูตรยาต้าน 3 ตัวร่วมกัน ซึ่งเป็นสูตรยาที่คล้ายกับสูตรยาที่โครงการลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก

การตรวจเอดส์ก่อนมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักก่อนแต่งงาน

ก่อนการตัดสินใจที่จะมีลูกก็เป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันการติดเอดส์ในเด็ก ถ้าตรวจพบก็ต้องแนะนำว่าไม่ให้มีบุตร แต่ก็มีสามีภรรยาอีกจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อเอดส์อยู่ก่อนจนภรรยาตั้งครรภ์ขึ้นมาแล้วไปตรวจพบขณะคลอดหรือตอนไปฝากครรภ์ ดังนั้นข้อแนะนำสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ คือ ให้รีบฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ รับการตรวจเอดส์ถ้าพบว่าติดเชื้อเอดส์ ให้ปรึกษาแพทย์และสามีว่าจะวางแผนกับการตั้งครรภ์อย่างไรดี สามีภรรยาหลายคู่อาจเลือกที่จะยุติการตั้งครรภ์โดยขอให้แพทย์ทำแท้ง โดยอาจมีเหตุผลต่างๆกัน

การลดหรือการป้องกันความเสี่ยง

1. ก่อนการตัดสินใจว่าจะมีบุตร คู่สามีภรรยาที่คิดว่าคนใดคนหนึ่งมีโอกาสเสี่ยงจะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ควรจะตรวจเลือดทั้งคู่
2. เมื่อฝ่ายหญิงรู้ตัวหรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรรีบไปฝากครรภ์ที่อนามัยหรือโรงพยาบาลโดยเร็ว
3. หากแม่มีเชื้อไวรัสเอชไอวี จะอุ้มครรภ์ต่อหรือจะทำแท้งก็ขึ้นอยู่กับว่าแม่จะตัดสินใจอย่างไร
4. ปัจจุบัน มีผลสรุปจากการทดลองพบว่า หากผู้หญิงท้องที่มีเชื้อไวรัสเอชไอวีได้รับยา AZT ระหว่างตั้งครรภ์ไปจนคลอด และให้เด็กกินยานี้ต่อหลังคลอดจะช่วยลดอัตราที่เด็กจะติดเชื้อจากแม่ได้มาก
5. ปัจจุบันมีโครงการรับยาลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกฟรี จากโรงพยาบาลหลายแห่งซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาค
6. หลังคลอดควรให้ลูกกินนมผงสำหรับทารก เพื่อลดความเสี่ยงของลูกที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจากน้ำนมแม่

วิธีป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบันของพวกเด็กกำพร้า

ในปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากมายในสังคมไทยและปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งและเด็กกำพร้านับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเนื่องจากในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไทพบว่าสถานสงเคราะห์ได้รับเด็กที่ถูกทอดทิ้งเข้ามาเลี้ยง เฉลี่ยแล้ว 44-45 คนต่อเดือน โดย 80%ถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดในภาคกลาง อีก 20% รับตัวมาจากตำรวจหรือกลุ่มที่พ่อแม่ทิ้งไว้กับคนรับจ้างและสถานที่สาธารณะอื่น ๆ ทั้งนี้จากการสืบค้นพบว่าเด็กที่ถูกทอดทิ้งในปัจจุบันเกิดจากแม่ที่เป็นวัยรุ่น วัยเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบ สาวโรงงานที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ และกลุ่มวัยรุ่นที่ติดยาเสพติด

การพัฒนาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมชนบทซึ่งบางแห่งได้เปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองและขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาความแออัดในสังคมเมืองมากขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตโดยมีแนวโน้มไปในทางวัตถุนิยมและพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวและมีขนาดเล็กลง ครอบครัวเป็นพื้นฐานแห่งการถ่ายทอดความสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ดี ในความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง พ่อ แม่ ลูก หรือพี่น้องจะเต็มไปด้วยความห่วงใย ความสนิทสนมเอื้ออาทร ความผูกพันด้วยความรักและความเข้าใจ แต่ปัจจุบันความผูกพันสนิทสนมด้วยความรักความห่วงใยของครอบครัวเริ่มเหือดหายและค่อย ๆ เจือจางลง ต่างคนต่างทำงานนอกบ้าน เรียนหนังสือนอกบ้าน คนในบ้านเริ่มใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันน้อยลง ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างกันลดลง

สภาพปัจจุบันคนในครอบครัวเริ่มเอาตนเองเป็นศูนย์กลางในความสัมพันธ์ และไม่ได้เห็นคุณค่าของความเป็นครอบครัวเท่าที่ควรจะเป็น ก่อให้เกิดความห่างเหินและไม่มีความอดทนต่อกัน สมาชิกแต่ละคนมุ่งแสวงหาวัตถุที่ตนเองปรารถนาและพอใจ และเมื่อวัตถุสำคัญกว่าจิตใจแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมาซึ่งก็คือปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ดังนั้นจึงเล็งเห็นว่าเด็กที่ถูกทอดทิ้งและเด็กกำพร้าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สมควรจะได้รับการแก้ไขมากที่สุดเพราะถ้าเราวางรากฐานทางครอบครัวให้ดี ให้เด็กได้รับความรู้ความเข้าใจและเพิ่มคุณธรรมควบคู่กันไป ก็คงจะทำให้ปัญหาเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือเด็กกำพร้าเหล่านี้ลดลงไปได้และถ้าสังคมให้ความสำคัญกับเด็กเหล่านี้ให้ได้มีครอบครัวที่อบอุ่นและได้รับการดูแล ได้รับการศึกษาเด็กเหล่านี้ก็จะมีความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพ พัฒนาสังคมและไม่เดินย้อนรอยตามอดีตผู้ให้กำเนิดที่ได้กระทำไว้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสังคมต่อไปในอนาคต

ความช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนของรัฐเพื่อให้เป็นไปอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

ปัญหาเด็กกำพร้าที่ขาดการดูแล

นับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเนื่องจากเด็กไทยขาดการศึกษา ขาดการอบรมด้านศีลธรรม ขาดความอบอุ่นในอนาคตต่อไปเด็กไทยก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ขาดความรู้ไม่สามารถประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวได้หากประเทศชาติขาดประชากรที่มีการศึกษาและขาดประชากรที่มีคุณธรรมประเทศชาติเราก็ไม่สามารถที่จะพัฒนาเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆได้จะเห็นได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นมีประชากรที่มีการศึกษาที่ดีเป็นจำนวนมากโดยการศึกษาจะเริ่มต้นจากครอบครัวเป็นหลักเราจะพบว่าครอบครัวที่มีความอบอุ่นและพ่อแม่ให้ความเอาใจใส่แก่ลูกก็จะทำให้ลูกเป็นเยาวชนที่ดีต่อประเทศชาติในอนาคต

ปัจจุบันจำนวนเด็กถูกทอดทิ้งมีตัวเลขและแนวโน้มสูงขึ้น

สาเหตุน่าจะมาจากวัยรุ่นสมัยนี้โตเร็ว และมีความคิดที่ผิดอาจเป็นเพราะว่ายุคสมัยนี้เปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนมาก สมัยนี้เด็กไทยมักจะลอกเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆจากต่างประเทศ จนกลายเป็นค่านิยมที่ผิดๆ ส่วนเรื่องเพศสัมพันธ์เด็กยุคนี้อาจจะใจกล้ามากกว่าเมื่อก่อน ไม่คิดถึงอะไรหรือผลกระทบที่จะตามมาคิดเพียงแต่ว่าต้องได้ แต่ก็ไม่อยากให้มองว่าผลพวงของเด็กถูกทอดทิ้งมาจากเด็กใจแตกเพียงอย่างเดียว มันยังมีผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจและภาวะสังคมด้วย ที่สำคัญคนสมัยนี้รู้จักกฎหมายมากขึ้น เขาจะไม่ฆ่าลูกที่เกิดมาแต่จะใช้วิธีทิ้งตามโรงพยาบาล ทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หรืออุ้มมาทีหน้าสถานสงเคราะห์ทำให้มีจำนวนเด็กถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น

รัฐบาลควรกำหนดยุทธศาสตร์ในการดูแลเด็กเร่ร่อนและเด็กด้อยโอกาสที่เข้ามาอยู่ในบ้านแรกรับและพัฒนาเด็กทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทศทางเดียวกัน และที่สำคัญรัฐบาลควรสนับสนุนการดำเนินงานบ้านหลังแรกรับและพัฒนาเด็กที่ดำเนินกิจงานโดยองค์เอกชนเอกชน เพื่อให้การทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนของรัฐเป็นไปอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรเอกชนดำเนินการดูแลเด็กที่อยู่ในบ้านอย่างมีคุณภาพ แต่ต้องแบกรับภาระด้านงบประมาณที่ยังไม่เพียงพอ นับตั้งแต่ค่าอาหาร เสื้อผ้า การศึกษา การเดินทางไปเรียนหนังสือ ค่าที่พัก และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กกำพร้า

1.ควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชนรวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการจะมีบุตร เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษาครอบครัวศึกษา และให้มีการเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นพ่อแม่ที่ถูกต้องให้แก่วัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว
2.ส่งเสริมให้มีการจัดโครงการกิจกรรมเกี่ยวกับครอบครัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในครอบครัวและเป็นครอบครัวที่เข้มแข็ง
3.มีการจักการฟื้นฟูสภาพครอบครัว การเข้าไปให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่อยู่ในภาวะวิกฤติ เพื่อช่วยแก้ปัญหาก่อนที่จะกลายเป็นครอบครัวที่แตกสลาย
4.กรณีเด็กถูกทอดทิ้งควรจัดหาสถานที่หรือครอบครัวใหม่หรือผู้อุปการะเด็กตามความเหมาะสม เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นครอบครัว
5.รัฐบาลในฐานะผู้บริหารประเทศจะต้องแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ที่มีฐานะยากจนสามารถอยู่ได้ตามอัตภาพไม่ต้องดิ้นรนเช่นปัจจุบัน

การรับเด็กกำพร้าเป็นบุตรบุญธรรมโดยที่ไม่ต้องให้เด็กประสบชะตากรรมอันน่าเศร้าได้ดีที่สุด

สภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบัน

ทำให้เด็กบางคนขาดการดูแลจากพ่อแม่ต้องอยู่ห่างไกลจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด หรือเป็นเด็กกำพร้า ซึ่งภาวะเช่นนี้ทำให้เด็กต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น ภาวะขาดแคลน การถูกทอดทิ้งการถูกเอารัดเอาเปรียบด้านแรงงาน หรือทางเพศในรูปแบบต่างๆ เด็กบางคนเติบโตมาในสภาพครอบครัวที่ไม่มีทั้งพ่อและแม่ หรือมีเพียงคนใดคนหนึ่ง แน่นอนว่าเขาสามารถที่จะเจริญเติบโตได้เหมือนเด็กทั่วๆไป แต่สิ่งที่จะแตกต่างคือการพัฒนาการทางด้านจิตใจ ความคิด ความรู้สึก และความสุขในชีวิตโดยธรรมชาติแล้วพ่อแม่จะเป็นต้นแบบในการหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิดให้กับลูก เมื่อขาดคนใดคนหนึ่งไปโดยเฉพาะขาดแม่ ย่อมมีผลกระทบกับลูก เนื่องจากสังคมไทย แม่จะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนลูกมากกว่าพ่อขาดพ่อไม่ลำบากเท่าไรยังมีแม่คอยเลี้ยงดูแต่ถ้าขาดแม่เท่ากับขาดทุกสิ่งทุกอย่าง

ถ้าเด็กไทยวันนี้ยังคงประสบปัญหามากมาย

แล้วอนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร ซึ่งพบว่ามีเด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อนจำนวนมากซึ่งไม่สามารถระบุตัวเลขที่ชัดเจน มีเด็กที่กำพร้าเนื่องจากพ่อแม่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ กลุ่มคนที่มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้หลายกลุ่ม ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเด็กในรูปแบบต่างๆ เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า การสอนหนังสือเด็กกำพร้า สอนหนังสือเด็กเร่ร่อน แต่ปัญหาก็ยังคงแก้ไขและเยียวยาไม่ทั่วถึง และแทบไม่น่าเชื่อว่าขณะที่มีปัญหามากมายแต่ปัจจุบันเมืองไทยมีการทุ่มงบประมาณเพื่อเด็กและเยาวชนน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณต่อจำนวนเด็ก ซึ่งปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชนเป็นปัญหาเร่งด่วนเป็นวิกฤตการณ์ที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญไม่ด้อยไปกว่าปัญหาความมั่นคงและปัญหาทางเศรษฐกิจได้

การดูแลช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูเด็กกำพร้าจึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสถานะที่เขาเหล่านั้นเป็นเครือญาติหรือไม่ใช่ก็ตาม โดยไม่จำกัดถึงเชื้อชาติและศาสนา เพราะเด็กทุกคนเกิดมาบริสุทธิ์พ่อแม่ของเขาเท่านั้นที่จะทำให้เขาเป็นอะไรในอนาคตและหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่นี้ก็จะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ เด็กกำพร้าจะต้องได้รับการดูแลอย่างอบอุ่นเสมือนลูกหลานที่แท้จริง เขาจะต้องได้รับความรู้ทั้งด้านด้านศาสนาและสามัญเพื่อเตรียมพร้อมที่จะออกไปสู่โลกกว้างในอนาคตและพร้อมที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์ การเลี้ยงดูเด็กกำพร้าห้ามเด็ดขาดที่จะมีข้อต่อรองหรือแลกเปลี่ยนเช่น ถ้าโตขึ้นหรือจบการศึกษาไปแล้วจะต้องกลับมาช่วยเหลือหรือทำงานชดใช้ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการสร้างปมด้อยให้กับเขา มันเป็นสิทธิที่เขาพึงได้รับและมันเป็นจิตสำนึกของเขาเองที่จะทำอะไรในอนาคต

การช่วยเหลือเด็กกำพร้า

โดยการอุปการะเด็กในลักษณะของการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก็นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการช่วยเยียวยาจิตใจของเด็กเหล่านี้ การอุปการะเด็กเป็นลูกบุญธรรม คือ หนทางหนึ่งในการช่วยเหลือเด็กกำพร้าที่ต้องประสบชะตากรรมอันน่าเศร้าได้ดีที่สุด หรือหากยังไม่พร้อม อย่างน้อยที่ทุกคนช่วยได้คือการบริจาคช่วยเหลือไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดีกว่าการเพิกเฉยไม่ใส่ใจ เพราะการปล่อยให้เด็กกำพร้าถูกทอดทิ้งไม่เหลียวแลจากสังคม คือโศกนาฏกรรมที่โหดร้ายยิ่งกว่าภัยธรรมชาติใดๆ

บทบาทของชุมชนยอมรับและการดูแลเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์

เด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นหลังการระบาดของโรคในช่วง สิบกว่าปีที่ผ่านมา และกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่ง สถานการณ์เด็กกำพร้า ทัศนคติของชุมชนต่อเด็กกำพร้า ความหมาย เหตุผล และกระบวนการยอมรับเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ การดูแลเด็กกำพร้า และ รวมถึงปัญหาและความต้องการในการดูแลเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เด็กกำพร้าที่บิดาหรือมารดาหรือทั้งบิดาและมารดาเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ครอบครัว และบุคคลคนที่อยู่รอบข้างเด็ก

111
พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจากโรคเอดส์และกำพร้า จากสาเหตุอื่น โดยเฉพาะในเรื่องการไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชน ปัจจุบันแม้ว่ารูปแบบการ ไม่ยอมรับจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างและระดับของความรุนแรงได้ลดลงแต่ยังคงมีอยู่ ซึ่งส่งผล ให้เด็กยังคงได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีอาการ ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐาน ทางการแพทย์ยืนยันว่าเด็กติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม

ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กที่สำคัญคือ การรังเกียจ/ แบ่งแยกในการมีกิจกรรมร่วมกับเด็กอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่มีการสัมผัสตรง ได้แก่ การกิน การนอน และการเล่น ดังนั้นการให้ความหมายของการยอมรับจึงถูกกำหนดขึ้น โดยเป็นการให้ความหมายที่สะท้อนถึงแนวคิดและพฤติกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ความหมาย ได้แก่ การไม่รังเกียจ/ไม่แบ่งแยก/ไม่ปฏิเสธการมีกิจกรรมร่วมกัน การเชื่อมโยงความเข้าใจ ระหว่างคนกับโรคเอดส์ และการช่วยเหลือดูแล ไม่ทอดทิ้ง ในขณะที่การไม่ยอมรับก็จะสะท้อน ออกมาในรูปของความหมายตรงกันข้าม ทั้งนี้มีเหตุผลของการยอมรับหรือไม่ยอมรับ 7 ประการ คือ ยอมรับเพราะสุขภาพของเด็ก เพราะพฤติกรรมที่เหมาะสมของเด็ก เพราะทราบสาเหตุหรือ โอกาสในการติดเชื้อ เพราะความรัก/ความผูกพัน เพราะมีพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่าง เพราะบทบาท ทางสังคม อำนาจต่อรอง และเพราะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งการยอมรับเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการโดยเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากการยอมรับผู้ติดเชื้อเอดส์ การล่มสลายของครอบครัวปฐมภูมิเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้สูญเสียบิดามารดาและการทำหน้าที่ ของครอบครัวทุติยภูมิได้เริ่มต้นขึ้น เพื่อให้ครอบครัวสามารถทำหน้าที่ของตนเองต่อไป โดยเฉพาะในการดูแลเด็กทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและการศึกษา พบว่าครอบครัวสามารถดูแลเด็กได้ตามอัตภาพในขณะที่ชุมชนมีบทบาทน้อยมาก เด็กกำพร้าและ ครอบครัวประสบกับปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัว ปัญหาการ ถูกรังเกียจ/แบ่งแยก ปัญหาด้านจิตใจและอารมณ์ และปัญหาด้านความต้องการพื้นฐาน ความ ช่วยเหลือที่ได้รับยังไม่เพียงพอ ส่วนความช่วยเหลือที่ต้องการ คือ ทุนการศึกษา การช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกับเด็กอื่นไม่ถูกรังเกียจหรือ แบ่งแยก ข้อค้นพบจากการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์เชิงนโยบายได้บ้างโดยการกำหนดยุทธศาสตร์ ในการช่วยเหลือเด็กกำพร้าและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว และชุมชนมีความเข้มแข็งและเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลเด็กกำพร้าอันเนื่องมาจาก โรคเอดส์

รัฐบาล ชุมชน หน่วยงานต่างๆ  ตลอดจนองค์กรการกุศล ควรมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีแก่ประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม  เพื่อช่วยลดการเกิดการติดเชื้อเอชไอวี

การดูแล และ ให้การรักษาการบริการเด็กกำพร้าที่ติดเชื้อเอดส์

เด็กๆที่เป็นกำพร้าจากโรคเอดส์ และเด็กเหล่านั้นติดเชื้อเอชไอวีด้วย ส่วนใหญ่จะมีชีวิตที่น่าสงสาร พวกเขาจะหาคนดูแล หรือให้ที่อยู่อาศัยได้ยาก และบางคนก็อาจจะถูกรังเกียจจากสังคม และ ชุมชนที่เคยอยู่ ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าส่วนใหญ่ก็ไม่อาจจะดูแลรับผิดชอบเรื่อง การดูแลรักษาชีวิตของเด็กๆ การให้ความรัก และการดูแลแบบครอบครัว การให้การศึกษา

การติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก เป็นผลเสียร้ายแรงต่อร่างกาย แสดงอาการได้รวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กเล็ก ทารกที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี กว่าครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตภายใน ๒ ปีแรก การใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีแก่เด็กอย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้ภูมิคุ้มกันของเด็กดีขึ้น เด็กจะมีสุขภาพแข็งแรง ในอดีตยังไม่มียาต้านไวรัสใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้ป่วยเด็กมักได้รับการรักษาที่ล่าช้า คือกว่าจะได้รับยาต้านไวรัส เด็กก็อยู่ในช่วงอายุ ๕ -๙ ปีแล้ว ซึ่งถือว่าช้าเกินไป ทำให้เด็กบางคนอาจป่วยหรือเสียชีวิตก่อนได้รับการรักษา

แม้การติดเชื้อเอชไอวีจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถรักษาเพื่อควบคุมอาการไว้ได้ หากเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับยาต้านไวรัสอย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยทารก ก็จะสามารถเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่ดี มีสุขภาพแข็งแรงใกล้เคียงกับเด็กปกติ เรียนหนังสือได้ มีอนาคตที่ดีได้

ครอบครัวและชุมชน มีส่วนสำคัญในการดูแลเด็กที่ติดเชื้อ เอชไอวี หรือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ ครอบครัวควรได้รับการสนับสนุนเพื่อให้สามารถอบรมเลี้ยงดูเด็กให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย รวมทั้งพ่อแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีก็ควรจะดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อดูแลลูกที่ติดเชื้อในระยะยาวได้ และจะส่งผลที่ดีต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และ ความมั่นคงในชีวิตของเด็ก ส่วนเด็กที่ครอบครัวไม่อบอุ่น จะมีความเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบและถูกรังเกียจจากสังคมได้

รัฐบาล ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนองค์กรการกุศล ควรมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ
เอชไอวีแก่ประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดการเกิดการติดเชื้อเอชไอวี